Tha Chatchai: The Gate to the Pearl
มีชื่อเรียกเดิมว่าบ้านแหลมหลา เป็นประตูจากพังงาแผ่นดินใหญ่สู่ภูเก็ตไข่มุกแห่งอันดามัน ได้ชื่อบ้านฉัตรไชยมาจากในสมัยรัชกาลที่ 7 เมื่อเสด็จประพาสจังหวัดภูเก็ต บริเวณแหลมหลา ได้สร้างศาลาสำหรับประทับรับเสด็จ บนหลังคามีฉัตรเป็นเครื่องหมายของพระมหากษัตริย์ไทย ศาลาดังกล่าวอยู่บริเวณริมทะเล ซึ่งเรียกว่า ท่า จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน "ท่าฉัตรไชย"

Heading
This is some text inside of a div block.
Entering Phuket through the Home of the Mokens

"เมืองหน้าด่าน ตำนานรักสารสิน ถิ่นมอเกล็น ดินแดนวัฒนธรรม งามล้ำป่าชายเลน" หมู่บ้านแห่งนี้ คือประตูสู่ไข่มุกอันดามัน หนึ่งในฉายานามของจังหวัดภูเก็ต ที่เมื่อได้มาเยือนและสัมผัสด้วยตนเองแล้ว จะพบมนตร์เสน่ห์ แห่งความรักหลากหลาย ท่ามกลางวิถีชีวิตของธรรมชาติที่รินไหล อย่างสงบ และสง่างาม การอยู่ร่วมกันระหว่างวัฒนธรรม และชาติเชื้อ ที่แตกต่าง ทว่าเกื้อหนุนซึ่งกันและกันภายในชุมชน
"Makan Nasi" Let's Eat!
"มากันนาซี" ประโยคนี้ไม่ใช่ประโยคบอกเล่า เเต่เป็นคำกล่าวทักทายและเชื้อเชิญของชาวมอเกล็น รูปแบบเดียวกับคำไทยที่คนไทยในอดีตนั้นใช้เพื่อแสดงมิตรไมตรีต่อกันว่า "กินข้าวกัน" ในหมู่บ้านท่าฉัตรไชยนั้น มีชาวมอเกล็นอยู่ถึง 2 พื้นที่ คือบ้านหินลูกเดียว และบ้านแหลมหลา ส่งผลให้วัฒนธรรม ความเชื่อ และประเพณี ของชาวมอเกล็นที่นี่นั้นยิ่งกระจ่างชัด ไม่ว่าจะเป็นประเพณีการลอยเรือ ในช่วงเดือน 6 และเดือน 11 จากความเชื่อที่ส่งต่อมาจากบรรพบุรุษ การลอยเรือนี้เปรียบเสมือนดั่งการสะเดาะเคราะห์ โดยสร้างเรือมาลำหนึ่ง นำข้าวตอกและสิ่งของต่างๆตามความเชื่อใส่ และทำพิธีเซ่นไหว้